|
ลักษณะโรคเริมที่ปาก |
จะพูดถึงเรื่องของ
โรคเริมที่ปากนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่า ซึ่งความหมายของโรคเราได้เล่าให้ฟังแล้ว เมื่อครั้งที่แล้ว
(โรคเริม คืออะไร) นะครับ ครั้งนี้ผมจะมาเล่าในส่วนของอาการของ
โรคเริมที่ปาก นี้นะครับ
อาการโรคเริมที่ปาก
- เริ่มแรกจะมีอาการคันที่ปาก แล้วปวดแสบปวดร้อน บริเวณปาก ก่อนจะเกิดผื่น 2 วัน
- หลังจากนั้น จะเกิดตุ่มใสๆ แดงๆ ที่บริเวณริมฝีปาก
- อาจจะมีไข้ต่ำ ตามมาด้วย
อาการดังกล่าวจะแสดงให้เห็นชัดขึ้นภายในสองวันที่เป็น เพราะสาเหตุนี้คนที่เป็นจะเกิดความไม่มั่นใจในการออกไปพบปะผู้คน ทำให้อับอาย ซึ่งผมขอบอกว่าเป็นความคิดที่ผิดครับ หลายๆคนก็อาจจะเคยเป็นโรคนี้มาแล้ว ไวรัสชนิดนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เป็นแล้วก็ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี เดวครั้งหน้าผมจะมาเล่าถึงสาเหตุที่เป็น และ การป้องกันนะครับ
สาเหตุของโรคเริมที่ปาก สาเหตุที่แท้จริงของเริมที่ปากยังไม่ชัดเจน แต่เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายก็กระตุ้นให้เกิดโรคเริมได้
โรคดังกล่าวมักพบน้อยลงหลังอายุ 35 ปีไปแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นอีกเลย
การถูกแสงแดด โดยเฉพาะแดดจัด ช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนน้อย มีอาการเจ็บป่วย เช่น
เป็นหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ความเครียด และอาการอ่อนเพลีย
ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดเริมได้ทั้งสิ้น
แนวทางรักษา เริมที่ปากเมื่อเป็นแล้วจะหายไปเองในเวลาประมาณ 10 วัน
แต่การทาครีมฆ่าเชื้อไวรัส ช่วยให้หายเร็วขึ้นได้ ยิ่งถ้ารักษาแต่เนิ่น ๆ
ก็จะหายเร็วขึ้น ทางที่ดีควรลงมือรักษาทันทีที่เริ่มมีอาการแสบคัน
ฉะนั้นเมื่อมีอาการ ควรไปพบเภสัชกร โดยเภสัชกรจะจ่ายยา acyclovir
หรือยากลุ่มต้านเชื้อไวรัส เช่น ครีมรักษาเริมที่ปากอย่าง Zovirax
ซึ่งมีทั้งชนิดหลอดและชนิดฉีดพ่น ไอบูโพรเฟนจะช่วยลดอักเสบ บวม
ส่วนการประคบน้ำแข็งบริเวณที่เป็นแผลโดยตรง
จะช่วยลดอาการบวมและบรรเทาปวดได้ หรือถ้าชอบการรักษาแบบธรรมชาติบำบัด
ให้ป้ายแผลด้วยน้ำมันหอมระเหยเลมอนบาล์ม หรือทีทรีออยล์
เพราะมีสรรพคุณต้านเชื้อไวรัส หรือจะดื่มชาเลมอนบาล์ม
สมุนไพรโกลเด้นซีลในรูปของอาหารเสริม หรือแคปซูลอิชินาเชีย
|
ลักษณะโรคเริมที่ปาก 2 |
ควรไปพบแพทย์หรือไม่
เริมที่ปากไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ถ้าสังเกตว่ามีน้ำเหลืองไหลออกมาจากตุ่มแผล
และถ้ามีไข้สูงกว่า 100.5 องศาฟาเรนไฮต์ หรือมีอาการระคายเคืองตา
ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นไปได้ว่าตุ่มแผลเกิดการติดเชื้อ
ถ้าโรคเริมของคุณเกิดจากอาการป่วยเรื้อรังที่เป็นสาเหตุทำให้ภูมิต้านทานโรค
อ่อนแอ เช่น โรคมะเร็ง คุณก็ควรไปพบแพทย์
เริมเป็นโรคติดต่อหรือไม่ ใช่แล้ว เริมเป็นโรคติดต่อ จึงไม่ควรใช้ของใช้ร่วมกัน การรักษาสุขอนามัยของคุณและคนรอบข้างเป็นสิ่งจำเป็น ล้างหน้าด้วยสบู่อ่อน ๆ วันละ 2 ครั้ง ระวังอย่าขยี้ตา
เพราะเชื้อเริมที่ปากอาจติดต่อสู่ตาได้
ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสตุ่มแผลที่ปาก
รวมถึงหลังจากใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์
วิธีนี้จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
วิธีป้องกันเริมที่ปาก
การทาครีมกันแดดทุกวันช่วยได้ ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet
ระบุว่า การใช้ครีมกันแดดจะทำให้โอกาสในการเป็นเริมลดลง
ลมหนาวก็มีส่วนกระตุ้นการทำงานของเชื้อไวรัส
จึงควรพันผ้าพันคอตั้งแต่ช่วงล่างของใบหน้า
ช่วงที่ร่างกายอ่อนเพลียมีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ง่าย
จึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ พักผ่อนให้เพียงพอ
และออกกำลังกายมาก ๆ เริมที่ปากมักเกิดจากความเครียดด้วยเช่นกัน
ดังนั้นควรรับประทานวิตามินบีซึ่งช่วยบำรุงประสาทให้เพียงพอ
พบมากในเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ จมูกข้าวสาลี ผักใบเขียว ซีเรียลโฮลเกรน
และขนมปังโฮลวีท
ขอบคุณบทความจาก kapook.com